messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
ทุ่งหัวช้าง
อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
folder วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง poll
เผยแพร่วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2565 | เปิดอ่าน : pageview71
วิสัยทัศน์หน่วยงาน poll
เผยแพร่วันที่ : 21 มกราคม 2564 | เปิดอ่าน : pageview349

insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง
ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง เดิมองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้างเป็นสภาตำบลทุ่งหัวช้าง ซึ่งต่อมาได้มีการแยกการบริหารเป็นสององค์กรคือหมู่ที่ 1, 2, 3 และ 8 บางส่วนได้แยกออกไปจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลตำบลทุ่งหัวช้าง ทำให้สภาตำบลทุ่งหัวช้างมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบเต็มพื้นที่จำนวน 8 หมู่บ้านคือหมู่ที่ 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12 และรับผิดชอบพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 3 และ 8 ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้างลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539 ในปี พ.ศ. 2554 มีการแยกพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง ได้แก่พื้นที่ของหมู่ที่ 1, 2, 3 และ 8 ไปรวมกับเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศให้ ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2554 องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้างมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหัวขัว บ้านโป่งแดง บ้านแม่ปันเดง บ้านสัญชัย บ้านดง บ้านหนองผำ บ้านสันดอนมูล และบ้านดอยวงค์ โดยปัจจุบันสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้างตั้งอยู่ที่ 1/1 หมู่ 4 ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1. ด้านกายภาพ 1.1.1 ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้างตั้งอยู่ในเขตอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอทุ่งหัวช้าง มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ระยะทางห่างจากที่ทำการอำเภอทุ่งหัวช้าง 3 กิโลเมตร ระยะทางห่างจากจังหวัดลำพูน 95 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง และ ตำบลตะเคียนปม อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน ทิศใต้ ติดต่อกับเขต ตำบลบ้านปวง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จ.ลำปาง ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง และ ตำบลแม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน 1.1.2 เนื้อที่ พื้นที่ในเขตบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง มีพื้นที่ทั้งหมด 53,906.25 ไร่ หรือ ประมาณ 86.25 ตารางกิโลเมตร(ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 134 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554) 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้างส่วนใหญ่เป็นภูเขา และพื้นที่ราบบางส่วน มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ อ่างเก็บน้ำแม่ปันเดง ลำห้วยแม่นาวะ ลำห้วยแม่แสม และแม่น้ำลี้ ได้ไหลผ่านหมู่บ้านในตำบลทุ่งหัวช้างได้แก่ หมู่ที่ 4,5,7,11 เป็นแม่น้ำที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรกรรม 1.3 สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของตำบลทุ่งหัวช้ามีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สามารถวิเคราะห์สภาพอุณหภูมิอากาศออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนมีนาคม 1.4 ลักษณะของดิน/ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ -ลักษณะของดิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา เหมาะแก่การทำการเกษตรในช่วงฤดูฝน -ดินเป็นดินร่วนเหมาะแก่การทำการเกษตร -ป่าไม้ตามธรรมชาติส่วนมากเป็นไม้ไผ่ ซึ่งราษฎรส่วนมากนิยมนำหน่อไม้มาประกอบอาหารและนำมาจักรสานอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น กระติบใส่ข้าว เครื่องมือจับปลา ฯลฯ -ทรัพยากรธรรมชาติ - น้ำ - ลำห้วย - ห้วยแคง ห้วยสายยาว ห้วยแม่อุย ห้วยแม่นาวะห้วยส้าน ห้วยป่าป๋อ ห้วยแม่ปันเดง -น้ำแม่ลี้ - ป่าไม้และภูเขา -ป่าอนุรักษ์ชุมชน -ดอยกวางคำ ดอยตุงซาววา 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ อาศัยน้ำจากลำห้วยและประปาผิวดินในการใช้อุปโภคและบริโภค 1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้ สภาพป่าไม้และไม้ที่ขึ้นปกคลุมในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งหัวช้าง เป็นลักษณะของป่าเต็งรังและ ป่าโปร่ง 2.ด้านการเมืองการปกครอง 2.1 เขตการปกครอง หมู่บ้านและประชากร องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง มีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 8 หมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่4 บ้านหัวขัว หมู่ที่5 บ้านโป่งแดง หมู่ที่6 บ้านแม่ปันเดง หมู่ที7 บ้านสัญชัย หมู่ที่9 บ้านดง หมู่ที่10 บ้านหนองผำ หมู่ที่11 บ้านสันดอนมูล หมู่ที่12 บ้านดอยวงค์ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อ/ตำบลที่มีการติดต่อ - เทศบาลตำบล จำนวน 1 แห่ง (เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง) - องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 แห่ง ดังนี้ 1. องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนปม 2. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปวง 3.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 3.1การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ โดยมีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของบรรพบุรุษ โดยการเลี้ยงผีบ้าน เลี้ยงผีเหมือง/ฝาย หรือเลี้ยงผีเตาไฟการนับถือผีเจ้าที่การส่งเคราะห์บ้าน พิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 3.2 ประเพณี ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้างมีงานประเพณีที่ปฏิบัติกันสืบมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้แก่ -ประเพณีสรงน้ำพระธาตุฯ -ประเพณีกินแขก(แต่งงาน) -ประเพณีเลี้ยงผีบ้าน(เข้ากรรมบ้าน) 3.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง มีผู้มีความรู้ด้านการจักสาน การทอผ้า(กี่เอว) การขับซอ การฟ้อนเจิง การฟ้อนดาบ การทอผ้า(กี่กระตุก) มีภาษาถิ่นหรือภาษาพูดคือภาษากะเหรี่ยง (โปร์และสกอร์)และภาษาพื้นเมือง 3.4 สินค้าพื้นเมือง สินค้าที่เป็นที่นิยมคือ ผ้าทอกะเหรี่ยง (เสื้อ ชุดกะเหรี่ยง หรือถุงย่าม) ผ้าไหม

โครงสร้างผู้บริหาร

local_cafe สถานที่ท่องเที่ยว
ที่นี้ทุ่งหัวช้าง
ทุ่งหัวช้าง อำเภอเล็กๆ ที่เงียบสงบ ในจังหวัดลำพูน โดยกว่า 70 % ของคนที่นี่ เป็นชาวปกาเกอะญอ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่เร่งรีบ ไม่แข่งขันกับใคร แค่คนที่นี่เขาเปลี่ยนจากการสัญจรไปมาบนท้องถนน มาเป็นเดินบนคันนายาวสายสีเขียว แบบสุดลูกหูลูกตา สิ่งนี้เขาเรียกว่า เสน่ห์ของคนทุ่งหัวช้าง...

วัดดอยตุงซาววา ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน





ประวัติความเป็นมา
วัดดอยตุงซาววา ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งท่องเที่ยว ตามตำนานในกาลสมัยที่ท่านครูบาวงศ์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ดำริเอาไว้ล่วงหน้าว่าจะมีสิ่งที่ทรงคุณค่าสำคัญยิ่งจะปรากฎขึ้นบนยอดดอยแห่งนี้ ในสมัยนั้นท่านครูบาวงศ์ จึงได้ชักชวนชาวบ้านในระแวกนั้น มีหมู่บ้านสันชัยเป็นหลัก พากันมาตั้งตุง (ธง) สูง 20 วาขึ้นด้วยวัสดุที่จะพึงจัดหาได้ของพื้นบ้าน ซึ่งบรรดาชาวบ้านก็ออกจะงงๆอยู่ ทำไมท่านครูบาฯจึงใช้วัสดุที่ไม่คงทนถาวร ซึ่งท่านครูบาฯก็ได้ชี้แจงว่า หากเมื่อถึงเวลาสิ่งสำคัญยิ่งของบ้านเมืองก็จะมาปรากฎขึ้นในภายภาคหน้า และด้วยความสามัคคีของญาติโยมก็ได้เริ่มขึ้น ณ ยอดดอยตุงซาววา ของหมู่บ้านสันชัย ตำบลทุ่งหัวช้างทำให้คิดต่อไปว่าสถานที่ดอยตุงซาววา

วัดพระธาตุดอยกวางคำ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน






ประวัติความเป็นมา
วัดพระธาตุดอยกวางคำ สร้างขึ้นโดยครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา โดยมีการเล่าขานกันตามตำนานว่า เมื่อครั้งที่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้รู้ข่าวว่า บนดอยขุนห้วยโป่งแดง มีรอยพระบาทประทับอยู่บนก้อนดิน ท่านได้มาค้นหาและพบรอยพระบาทของพระมหาเถระบนดอยกวางคำแห่งนี้ ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน และทราบว่าองค์ท่านเองนั้น เมื่อครั้งในอดีตชาติได้เคยเกิดเป็นพญากวางคำ บำเพ็ญโพธิญาณ และมาถูกพรานยิงธนูเสียชีวิต ณ สถานที่แห่งนี้ ท่านจึงได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานถาวรวัตถุ และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ปัจจุบันภายในวิหารมีพระประธานทรงเครื่องปางพระมหาจักรพรรดิ ประดับด้วยเพชร พลอย รวมทั้งรอยพระพุทธบาทดอยกวางคำ ที่ชาวบ้านมากราบไหว้บูชา และให้ความเคารพเป็นอย่างมาก

วัดดอยพระบาทหงส์คำ (ตีนนก)







ประวัติความเป็นมา
วัดดอยพระบาทหงส์คำ ( พระบาทตีนนก ) ต. ทุ่งหัวช้าง อ. ทุ่งหัวช้าง จ. ลำพูน สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นในยุคสมัยของพระนางเจ้าจามรี กษัตริย์ขัตติยะนารีของเมืองลี้ ในอดีตชุมชนลุ่มน้ำลี้เป็นชุมชนเก่าแก่ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองด้านพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ซึ่งได้พบร่องรอยศาสนสถานโบราณที่ได้สำรวจในบริเวณรอบ ๆ ถึง ๖ วัด สมัยก่อนอันเป็นแหล่งอริยะธรรมที่เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง จากหลักฐานที่ปรากฎที่มีซากเจดีย์เก่าพระพุทธรูปเก่าที่ขุดได้จากวัดร้าง สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนเผ่าลัวะ ซึ่งตั้งอยู่ทุ่งหัวช้าง ซึ่งกษัตริย์สมัยก่อนมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้สร้างเจดีย์วัดวาอารามต่าง ๆ ไว้ไกล้ ๆ กัน เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวลัวะ ในช่วงนั้นเกิดสงครามสู้รบกัน และเกิดโรคระบาดเป็นเหตุให้ชุมชนชาวลัวะต่างพากันอพยพหนีย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น วัดวาอารามต่าง ๆ ถูกทิ้งร้างไม่มีใครดูแลเมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปีได้มีชนเผ่ากระเหรี่ยงและชาวพื้นเมือง ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่และบูรณะวัดวาอารามขึ้นมาใหม่ จนมาถึงสมัยของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านโดยเฉพาะชาวกระเหรี่ยง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านมาบูรณะสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ในช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านมาสร้างวัดร้างในอำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นสถานที่พญาหงส์คำพร้อมบริวารมาเล่นน้ำแล้วถูกบ่วงของนายพราน ตั้งอยู่ที่บ้านหัวขัว คือวัดพระธาตุหัวขัว เมื่อเกิดความแห้งแล้งชาวบ้านก็จะไปขอฝนกับพระธาตุเจดีย์วัดหัวขัว และพระครูบาเจ้าศรีวิชัยท่านก็ได้ปรารภกล่าวถึงรอยพระบาทตีนนกหรือพระบาทหงส์คำที่อยู่บนดอย ชาวบ้านก็พากันขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระธาตุเจดีย์ร้างซึ่งมีซากเจดีย์โบราณที่พังทลายเป็นเวลาหลายปี บนยอดดอยเป็นประเพณีและจุดบั้งไฟเป็นพุทธบูชาตามความศรัทธาความเชื่อของชาวบ้านเพื่อเป็นการทำพิธีขอฝนด้วย ต่อมาในยุคของพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ท่านก็ได้มาสร้างวัดและบูรณะวัดวาอารามต่าง ๆ ในอำเภอทุ่งหัวช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดหัวขัวแทนหลังเดิมของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ชำรุดทรุดโทรมลงไป ในเย็นวันหนึ่งเมื่อท่านทำวัตรสวดมนต์เจริญสมาธิภาวนาเสร็จแล้วท่านก็ได้นั่งหันหน้าไปทาทิศตะวันตกแล้วก็พูดขึ้นว่า ดอยที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกนี้มีรอยพระบาทตีนนกอยู่ และในวันหนึ่งชาวบ้านก็ได้นิมนต์ท่านนั่งเฉลียงคานหามเดินทางผ่านเลาะที่เชิงดอย ท่านก็กล่าวว่าบนดอยนี้มีรอยพระบาทตีนนกอยู่ พระครูบาแก้วและชาวบ้านก็นิมนต์ท่านมาสร้างแต่ท่านก็ปฏิเสธว่าสถานที่แห่งนี้ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน จะมีเจ้าของมาสร้างเอง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านก็บอกให้พระครูบาแก้วขณะนั้นยังเป็นสามเณรอยู่และชาวบ้านขึ้นไปพัฒนาบริเวณสถูปเจดีย์เก่าและบูรณะศาลาไว้เพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนาและปฏิบัติธรรม ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๐ พระครูบาเจ้าขาวคำปัน พร้อมด้วยชาวบ้านได้ขึ้นมาบนดอยพระบาทหงส์คำเพื่อดูสถานโบราณที่หลงเหลือแค่เศษอิฐ และฐานเจดีย์ร้างที่พังตกลงรอบๆบริเวณยอดเขา ท่านก็อธิษฐานจิตเพื่อจะขอบูรณะใหม่ ท่านก็บอกว่าสถานที่ตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน จึงได้บอกให้พระครูบาแก้วมาดูแลสถานที่ตรงนี้ พาชาวบ้านมาพัฒนาสืบทอดตามเจตนาของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยและพระครูบาอภิชัยขาวปีต่อไป เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐ หลวงปู่ครูบาแก้วพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านได้พากันค้นหารอยตีนนก ตามคำกล่าวของพระครูบาเจ้าขาวปี ก็ได้พบรอยตีนนกบนก้อนหินใหญ่ที่เชิงดอย หลวงปู่ครูบาแก้วก็ได้พาชาวบ้านมาพัฒนาที่รอยตีนนกและได้สร้างเจดีย์ครอบเจดีย์เก่าที่เหลือแต่ฐานเจดีย์นั้น เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของครูบาอาจารย์ในอดีต บนดอยพระบาทหงส์คำแห่งนี้บางครั้งในตอนกลางคืนจะมีดวงแก้วลอยขึ้นไปบนอากาศ ส่องแสงสว่างชาวบ้านที่พบเห็นก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ท่านก็ได้สร้างศาลาและกุฏิสงฆ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา โดยจัดให้มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุเจดีย์และรอยพระบาทตีนนก ในเดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๘ ค่ำ ของทุกปีเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สวาตุ๊เจ้าหล้า พระพัฒนกรณ์ กิตติปัญโญ พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้มาอยู่จำพรรษา เพื่อดูแลพัฒนาบูรณะซ่อมแซมวัดและอบรมธรรมะให้แก่ชาวบ้าน ในคืนหนึ่งสวาตุ๊เจ้าหล้าได้นิมิตฝันว่า ได้มีรอยตีนนกมียังฝังอยู่ใต้ดิน ในครั้งแรกก็ยังไม่ได้ออกค้นหา จนได้เห็นนิมิตเป็นครั้งที่สองว่ามีรอยตีนนกนี้คือรอยพญาหงส์คำฝังอยู่ใต้ดินใกล้กับต้นมะเหม้า ตอนเย็นวันหนึ่งตุ๊เจ้าหล้าพร้อมด้วยสามเณรและเด็กวัด พากันออกค้นหารอยพระบาทพญาหงส์คำก็ได้พบต้นมะเหม้าสองต้น ให้เด็กวัดขุดลงไปประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ได้เจอก้อนหินก้อนหนึ่งก็ให้เด็กวัดไปเอาน้ำมาล้างก็เห็นว่า มีรอยตีนคล้ายรอยตีนนกปรากฏอยู่บนก้อนหินนั้น ก็บอกให้ชาวบ้านมาดูกันและนิมนต์หลวงปู่ครูบาแก้วมาดูท่านก็ว่าเป็นรอยตีนพญาหงส์คำ ซึ่งเคยมีประวัติเล่าสืบกันมาตั้งแต่อดีตว่าทุ่งหัวช้างเป็นที่อยู่อาศัยของพญาหงส์คำ อันเป็นพระชาติของพระพุทธเจ้าที่เคยได้เสวยพระชาติเกิดเป็นพญาหงส์คำ อาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหัวช้างนี้ เป็นสถานที่บำเพ็ญเพียรบาระมี ในสมัยหนึ่งก่อนพุทธกาลได้มีพญาหงส์คำ ชื่อว่า ธตรฐ มีบริวารได้ ๙๖,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ในถ้ำทองคำในป่าหิมพานต์ มีหงส์เสนาบดีตัวหนึ่ง ชื่อว่าหงส์สุมุขะเสนาบดี มีอยู่คราวหนึ่งหงส์คำที่เป็นบริวาร ก็ได้บินออกไปเที่ยวก็ได้พบสระบัวที่สวยงามอุดมสมบูรณ์มีน้ำที่ใสสะอาดอยู่ใกล้เมืองสาคระนคร ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของป่าหิมพานต์ จึงได้บินกลับไปป่าหิมพานต์แล้วเล่าเรื่องสระบัวอันสวยงามนั้นให้แก่พญาหงส์คำ เมื่อพญาหงส์คำรู้จึงได้เตือนหงส์สุมุขะเสนาบดีว่า ขึ้นชื่อว่าเมืองมนุษย์นั้นย่อมมีภัย พวกท่านอย่าพอใจออกไปเลย แต่ว่าหงส์สุมุขะเสนาบดีพร้อมด้วยบริวารก็พากันอ้อนวอนขอร้องพญาหงส์คำให้พาเหล่าบริวารได้ไปเที่ยวลงน้ำในสระบัวเมืองสาคระนครนั้น จนในที่สุดพญาหงส์คำก็ใจอ่อนจึงได้พาบริวารบินไปสู่สระบัว เมื่อใกล้จะถึงสระบัวพญาหงส์ก็ไม่สามารถมองเห็นสระบัวและเมืองสาคระนครนั้นได้ เพราะว่ามีภูเขาลูกหนึ่งสูงมากบังเมืองสาคระนครไว้ พญาหงส์จึงถามหงส์สุมุขะเสนาบดีว่า ยังอีกไกลหรือไม่เรายังไม่สามารถมองเห็นสระบัวนั้น ภูเขาสูงลูกนั้นที่บังเมืองสาคระนคร มีชื่อว่าดอยเกิ้ง ( เป็นที่ตั้งพระธาตุดอยหลวง ) ศาสนสถานโบราณ จากนั้นก็บินมาถึงภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสระบัวนั้น ซึ่งมีถ้ำและต้นไม่ใหญ่บนยอดเขา ( เป็นที่ตั้งวัดดอยพระบาทหงส์คำ ) เพื่อสังเกตการณ์ดูความปลอดภัยก่อนที่จะลงเล่นน้ำในสระบัว ก่อนที่พญาหงส์คำและบริวารจะบินมา ก็ได้มีนายพรานที่อาศัยอยู่ในเมืองสาคระนคร ได้มาวางบ่วงกับดักสัตว์ป่าไว้ พญาหงส์และบริวารได้ลงเล่นน้ำอย่างมีความสุข ในขณะที่ขึ้นจากน้ำแล้ว พญาหงส์คำก็ได้ติดบ่วงของนายพราน เหล่าบริวารทั้งหลายก็ตกใจแตกตื่นบินหนีกลับป่าหิมพานต์ ทิ้งพญาหงส์คำไว้แต่ว่าก็มีหงส์แค่ตัวเดียวที่ไม่บินหนี คือหงส์สุมุขะเสนาบดี พอรุ่งเช้านายพรานก็มาดูบ่วงกับดักที่ทำไว้ ก็เห็นพญาหงส์คำและหงส์สุมุขะเสนาบดี สถานที่ตรงนั้นจึงเรียกว่า ขวง ปัจจุบันคำว่าขวงนั้นเพี้ยนเป็น ขัว คือที่ตั้งวัดพระธาตุหัวขัวปัจจุบัน เมื่อนายพรานเห็นพญาหงส์คำติดบ่วงอยู่และหงส์สุมุขะเสนาบดีนั้นไม่ได้ติดบ่วงแต่กลับไม่บินหนีไป ทำให้นายพรานสงสัย จึงถามสุมุขะเสนาบดีว่าเหตุใดจึงไม่บินหนีหงส์สุมุขะเสนาบดีจึงตอบว่า พญาหงส์คำที่ติดบ่วงคือเจ้านายของข้าพเจ้าเอง นายพรานจึงกล่าวว่าธรรมดาผู้เป็นเจ้านายย่อมมีความรอบคอบ เหตุใดนายของเจ้าจึงไม่มีความรอบคอบเช่นนี้ จึงมาติดบ่วงของเราได้ หงส์สุมุขะเสนาบดีจึงบอกว่าจะมีความวิบัติในคราวใดคราวนั้นถึงมีปัญญา ก็เหมือนไม่มีปัญญาถึงเข้าใกล้ข่ายใกล้บ่วงก็ไม่รู้ได้ เมื่อนายพรานได้ยินก็เกิดใจอ่อนลง หงส์สุมุขะเสนาบดีจึงขอชีวิตนายไว้ นายพรานก็ปล่อยพญาหงส์คำให้พ้นออกจากกรง ( ขวง ) และบ่วงนั้น แล้วพญาหงส์คำจึงให้นายพรานนำตนไปถวายแก่พระราชาเมืองสาคระนคร เพื่อจะให้นายพรานได้รับพระราชทานรางวัลจากพระราชา เมื่อกลับไปถึงเมืองนายพรานก็นำพญาหงส์คำไปถวายแก่พระราชาแล้วทูลเล่าเหตุการณ์ให้พระราชาฟัง พญาหงส์คำได้แสดงธรรมถวายพระราชาแล้วพระราชาก็โปรดปรานมากได้พระราชทานรางวัลเป็นอันมากแก่นายพราน และปล่อยพญาหงส์คำกับหงส์สุมุขะเสนาบดีกลับสู่ป่าหิมพานต์ พระราชาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาพญาหงส์คำจึงได้ขอถวายอุปฐากและขอให้พญาหงส์คำอาศัยอยู่ในเมืองสาคระนครเพื่อจะได้ถวายโภชนะอาหารข้าวสาลีต่าง ๆ แก่พญาหงส์คำและบริวาร ทรงโปรดให้ขุดสระน้ำตรงหน้าลานสนามหน้าวัง ( ข่วงสนาม ) สถานที่ขุดสระคือวัดหนองผำ ส่วนข่วงสนามคือบ้านหัวขัว ต่อมาเปลี่ยนจากหัวข่วงมาเรียกว่า หัวขัว พญาหงส์คำก็ให้หงส์สุมุขะเสนาบดีบินกลับไปป่าหิมพานต์บอกให้นางพญาหงส์และบริวารมาอยู่ในเมืองสาคระนคร เมื่อหงส์สุมุขะเสนาบดีไปรับนางพญาหงส์และบริวารก็มาถึงเมืองสาคระนครก็บินไปพักอยู่บนต้นไม้ใหญ่บนยอดเขาทิศตะวันตกของเมือง พญาหงส์ก็บินไปรับนางพญาหงส์ที่ยอดเขาลูกนั้น ( คือวัดดอยพระบาทหงส์คำ ) แล้วก็พากันบินเป็นสายยาวไปในเมืองชาวเมืองก็แตกตื่นกันเมื่อเห็นพญาหงส์และบริวารบินเป็นแถวยาวไปตามลำน้ำ จึงเรียกว่า ห้วยสายยาว จากนั้นก็บินวนรอบเมืองเป็นรูปวงกลมอยู่บนท้องฟ้า สถานที่นั้นจึงเรียกว่า ดอยวง แล้วก็บินลงไปในพระราชวังรับโภชนาอาหารข้าวสาลีและลงเล่นสระน้ำ อย่างมีความสุข พอถึงตอนเย็นก็พากันบินไปที่เขาอันมีต้นไม้ใหญ่อาศัยอยู่ในถ้ำคูหาแห่งนั้น อย่างมีความสุข พญาหงส์คำเห็นความกตัญญูของหงส์สุมุขะเสนาบดี จึงได้เหยียบบนก้อนหินประทับรอยพระบาทไว้ ( ในวัดดอยพระบาทหงส์คำปัจจุบัน ) แล้วให้หงส์สุมุขะเสนาบดีเหยียบทับบนรอยของตนเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความกตัญญูของหงส์สุมุขะเสนาบดี กลับมาเกิดชาตินี้นายพรานได้มาเกิดเป็นนายฉันนะอามาตย์ และหงส์สุมุขะเสนาบดี ได้มาเกิดเป็นพระอานนท์ พญาหงส์คำก็ได้มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า

พระธาตุหัวขัว ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน




ประวัติความเป็นมา
ประวัติการสร้างพระธาตุหัวขัว ในประมาณปีพ.ศ.๒๔๕๐ พระครูบาเจ้าศรีวิชัยได้จาริกมาสร้างเจดีย์ให้คณะศรัทธาชาวกระเหรี่ยงและคนพื้นเมืองในเขตอำเภอทุ่งหัวช้างวัดพระธาตุหัวขัวได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายยุคสมัย และในยุคของพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีนั้นเอง ท่านได้มาจาริกแสวงบุญบูรณะวัดวาอารามต่างๆ ในทุ่งหัวช้างในราวประมาณปีพ.ศ.๒๕๑๔ ท่านได้มาเป็นประธานสร้างวิหารวัดพระธาตุหัวขัว ซึ่งครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้ติดตามมาช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยและครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีบูรณะวัดด้วยต่อมาในประมาณปีพ.ศ.๒๕๒๐ โดยสร้างกำแพงรอบวิหารและพระธาตุหัวขัวเมื่อพ.ศ.๒๕๒๒ เดือน ๔ แรม ๗ ค่ำ วัน ๓ ปีสง๊า และหลวงปู่ครูบาเจ้าขาวคำปันท่านมาจำพรรษาที่วัดนี้ด้วย